วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คู่มือ เอาตัวรอดจากสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ






          นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ในช่วงที่มีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ พบสถิติการเข้ารักษาฉุกเฉินที่พบบ่อย คือ การถูกสัตว์มีพิษที่มากับน้ำกัด ทั้ง ปลิง ตะขาบ แมงป่อง และงู ซึ่งเฉพาะ งู มีทั้งงูเหลือม งูเขียว งูเห่า โดยงูมีพิษ

แบ่งได้เป็นเป็น 3 ชนิด คือ ชนิดเป็นพิษต่อระบบประสาท พบใน งูเห่า งูจงอาง ผลคือเกิดอัมพาต ลืมตาไม่ได้ และอาจหยุดหายใจจนเสียชีวิตได้ ,ชนิดที่ 2 คือเป็นพิษต่อเลือด ได้จากงูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ ผู้รับพิษจะมีเลือดออกตามที่ต่างๆ อาเจียนเป็นเลือดไม่หยุด เพราะพิษจะส่งผลให้เลือดไม่แข็งตัว และชนิดเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อ ได้จาก งูทะเล เป็นอัตรายต่อกล้ามเนื้อ

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากถูกสัตว์มีพิษ โดยเฉพาะงูกัด ก่อนที่ทีมแพทย์ฉุกเฉินจะเข้าไปถึงพื้นที่ คือประชาชน ต้องตั้งสติก่อนเป็นอันดับแรก ดูให้แน่ว่าเป็นงูที่มีพิษหรือไม่ หากแน่ใจเป็นงูมีพิษผู้บาดเจ็บมีเวลาครึ่งชั่วโมงกว่าพิษจะเริ่มแสดงอาการ สิ่งแรกที่ต้องทำคือรีบล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์ แต่ห้ามกรีดแผล ดูดแผล ใช้ไฟจี้ ดื่มสุรา หรือกินยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของแอสไพรินโดยเด็ดขาด เพราะจะเพิ่มการติดเชื้อที่แผลมากขึ้นจนเนื้อรอบบริเวณตาย หรือไปเสริมฤทธิกับพิษงูให้รุนแรงมากขึ้น

จากนั้นให้ผู้บาดเจ็บนอนนิ่งๆ จัดส่วนที่ถูกงูกัดให้อยู่ระดับต่ำกว่าหัวใจ ห้ามเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็น เพื่อชะลอการดูดซึมพิษงูเข้าสู่ท่อน้ำเหลืองและเส้นเลือดดำไหลเวียนเข้าหัวใจ หาไม้ดามบริเวณที่ถูกงูกัดแล้วใช้ผ้าพันให้แน่นพอประมาณเหนือแผลงูกัดประมาณ 5-15 เซนติเมตร รีบนำผู้ถูกงูกัดส่งสถานบริการสาธารณสุขที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว

หากระหว่างนำส่งผู้บาดเจ็บหยุดหายใจให้กดนวดหัวใจ จนกว่าจะถึงโรงพยาบาล หากผู้บาดเจ็บอยู่คนเดียว ควรโทรหาสายด่วน 1669 ตั้งแต่ถูกงูกัดแล้วปฐมพยาบาลตัวเองระหว่างรอเจ้าหน้าที่เข้าถึงพื้นที่

นักวิทย์เจอสัตว์น้ำเปลือกแข็งมีพิษชนิดแรก

นักวิทย์เจอสัตว์น้ำเปลือกแข็งมีพิษชนิดแรก

ครัสเตเชียนชนิดแรกที่มีพิษ

ปกติสัตว์น้ำเปลือกแข็งอย่าง กุ้ง กั้ง หรือปู เป็นสัตว์ที่ไม่มีพิษ แต่ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญได้พบสัตว์กลุ่มนี้ที่มีพิษเป็นชนิดแรก ซึ่งมีรูปร่างคล้ายตะขาบที่อาศัยอยู่ในถ้าใต้น้ำและตาบอด พิษในตัวมีไว้เพื่อล่าเหยื่อ และเป็นพิษแบบเดียวกับที่พบได้ในเขี้ยวงูพิษ
       
       บีบีซีนิวส์ระบุว่า การคนพบครั้งนี้รายงานในวารสารโมเลกูลาร์ไบโอโลจีแอนด์อีโวลูชั่น (Molecular Biology and Evolution) โดยสัตว์น้ำเปลือกแข็งหรือครัสเตเชียน (crustacean) ชนิดแรกที่มีพิษคือ เรมิพีด (remipede) หรือ สเปลีโอเนคเตส ทูลูเมนซิส (Speleonectes tulumensis) ซึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำใต้น้ำของทะเลแคริบเบียน หมู่เกาะคานารี และออสเตรเลียตะวันตก และกินครัสเตเชียนชนิดอื่นเป็นอาหาร
       
       พิษของครัสเตเชียนใต้น้ำชนิดนี้มีส่วนผสมของสารพิษอยู่หลายชนิด ทั้งเอนไซม์และสารที่ทำให้อ่อนแรง มันจะทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายเหยื่อด้วยพิษของตัวเอง แล้วดูดกินเนื้อเหลวๆ ของเหยื่อที่มีกระดูกภายนอก (exoskeleton)
       
       ด้าน ดร.โรนัลด์ เจนเนอร์ (Dr.Ronald Jenner) นักสัตววิทยาจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาในลอนดอน (Natural History Museum) อังกฤษ ผู้ร่วมเขียนรายงานการค้นพบครั้งนี้ กล่าวว่า ความเข้าใจอย่างลึกลึ้งถึงลักษณะจำเพาะจากการศึกษาครั้งนี้ ช่วยพัฒนาความเข้าใจของเราที่มีต่อวิวัฒนาการของสัตว์มีพิษ ซึ่งลักษณะการกินเหยื่อคล้ายแมงมุมนี้เป็นเทคนิคที่โดดเด่นจากสัตวืครัสเตเชียนอื่นๆ
       
       “การมีพิษนี้เป็นการปรับตัวที่ยอดเยี่ยมจริงๆ สำหรับสัตว์ถ้ำตาบอดที่อาศัยอยู่ในถ้ำใต้น้ำที่มีขาดแคลนอาหาร” ดร.เจนเนอร์ให้ความเห็น
       
       ทั้งนี้ ครัสเตเชียนเป็นสัตว์กลุ่มใหญ่ที่ถูกจัดเป็นชั้น (class) หนึ่งสัตว์ในไฟลัมอาร์โธรพอดส์ (arthropods) หรือสัตว์ขาปล้อง โดยสัตว์ในชั้นนี้ยังมีสัตว์ที่เราคุ้นเคยอย่างกุ้ง เคอย (krill) กุ้งมังกร (lobster) และปู แต่มีไม่กี่ชนิดที่อาศัยอยู่บนบก อย่างเช่นตัวกะปิ (woodlice) เป็นต้น
       
       ส่วน ดร.บียอร์น วอน รอยมอนท์ (Dr.Bjoern von Reumont) จากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเช่นกัน ให้ความเห็นว่า เป็นครั้งแรกที่เราได้เห็นการใช้พิษใยสัตว์ครัสเตเชียน และการศึกษานี้ได้เติมสัตว์กลุ่มใหญ่ชนิดใหม่ เข้าในบัญชีรายชื่อสัตว์มีพิษที่เรารู้จัก
       
       รอยมอนท์กล่าวว่า สัตว์มีพิษนั้นเป็นพบได้ทั่วไปในสัตว์กลุ่มใหญ่ของอาร์โธรพอดส์ 3 ใน 4 กลุ่ม อย่างเช่นแมลงต่างๆ แต่สำหรับสัตว์ในกลุ่มครัสเตเชียนดูจะเป็นข้อยกเว้น โดยจนถึงทุกวันนี้สัตว์ในชั้นครัสเตเชียนที่มีราวๆ 70,000 สปีชีส์ ตั้งแต่ ไรน้ำ เคอย ปู และตัวเพรียง ไม่มีตัวใดเลยที่เป็นสัตว์มีพิษ

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

13 อันดับสัตว์น้ำจืดที่น่ากลัวที่สุดในโลก

อันดับที่ 1 ปิรันย่า
       

           เป็นอย่างอื่นไปไม่ไดนอกจาก ปลาสุดโหดที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาใต้ อย่าง ปิรันย่า ความโหดของมันไม่เป็นรองใคร ผู้คนต่างพากันกลัวว่าจะตกเป็นเหยื่ออันโอชะของมัน

อันดับที่ 2 ปลาไหลไฟฟ้า



            เป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายปลาดุกมากกว่าปลาไหลชนิดอื่น อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำอะเมซอน และในลุ่มน้ำโอริโนโกในอเมริกาใต้ มันสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 500 โวลต์ ซึ่งมากพอจะปลิดชีพคนได้เลย

อันดับที่ 3 แมงมุมกินนก (Goliath Bird-Eater Spider)



             มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของแมงมุมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในเขตมาไซ ในป่าฝนของแอฟริกาใต้ เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดกว้าง 30 ซม. และหนัก 170 กรัม มันไม่ได้กินนกตามที่ชื่อเรียกของมัน แต่แมงมุมกินนกนั้นกินแมลงและสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร ความน่ากลัวของมันอยู่ที่ เมื่อโดนกัด จะรู้สึกเจ็บเหมือนโดนตัวต่อหรือแตนต่อย และใยของมันจะทำให้เกิดอาการระคายผิว
(เป็นสัตวชนิดเดียวใน 13 อันดับที่ไมได้อาศัยอยู่ในน้ำ)

อันดับที่ 4 ปลาเสือแอฟริกา
ปลาเสือแอฟริกา

           มันน่ากลัวด้วยขนาดที่ใหญ่และฟันแหลมคม อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่และออกล่าเหยื่อโดยกินสัตว์ที่มีขนาดเท่าหรือใหญ่กว่ามัน แต่ยังไม่เคยมีมนุษย์คนใดตกเป็นเหยื่อของมัน
ปลาเสือแอฟริกาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมี 2 พันธุ์ คือ goliath tiger fish (Hydrocynus goliath) and the Hydrocynus vittatus ซึ่ง goliath tiger fish ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจะหนักราว 50 กก. หนักถึง 15 กก.

อันดับที่ 5 จระเข้แม่น้ำไนล์


           มีชื่อเสียงด้านความดุร้ายและอันตรายที่สุดชนิดหนึ่ง มันสามารถจู่โจมสัตว์ที่ขนาดเท่าตัวมันหรือเล็กกว่ามัน เช่น ฮิปโปโปเตมัสหรือแรด ที่น่ากลัวกว่านั้นในแต่ละปีมนุษย์ตกเป็นเหยื่อมันพวกมันเป็นจำนวนตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักแสนคนเลย แต่แม้ว่ามันจะดุร้ายเพียงใดจระเข้แม่น้ำไนล์เหล่านี้ก็ยังตกเป็นเหยื่อการล่าเพื่อเอาหนังมาทำสินค้าอยู่ดี


อันดับที่ 6 ปลาชะโด


          ถือเป็นผู้ล่าสุดโหดลำดับต้นๆ เหยื่อของมันมีทั้งสัตวไม่มีกระดูกสันหลัง กบและปลาเล็กๆ และมันยังรู้จักโจมตีสิ่งรอบกายที่กำลังเคลื่อนไหวแม้ว่ามันจะกำลังวางไข่ก็ตาม

อันดับที่ 7 เต่ามาตามาต้า (Chelus fimbriatus)


          เต่าที่มีรูปร่างประหลาดแต่ไม่เป็นอันตราย ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีใบไม้ทับถมกัน อาหารของมันคือลูกปลา มันจะดูดเหยื่อเข้าไปทั้งตัวก่อนจะพ่นน้ำออกมา

อันดับที่ 8 ปลาดุกยักษ์


           เป็นปลาที่กินซากสัตว์เป็นอาหาร พบมากในแม่น้ำทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์

อันดับที่ 9 แมงมุมที่อยู่ในน้ำ (The diving bell spider หรือ Argyroneta aquatica)


           อาศัยอยู่ในน้ำ แต่หายใจเหมือนสัตว์บก มันจะสร้างใยที่บรรจุอากาศไว้ พบในยุโรปเหนือและยุโรปกลางและทางเหนือของเอเชีย หากโดนแมงมุมชนิดนี้กัดจะทำให้เกิดความเจ็บปวดทรมานและตามด้วยอาการไข้

อันดับที่ 10 งูอนาคอนดา


          อนาคอนดาตัวใหญ่ที่สุดที่เคยพบมีขนาดยาว 19 ฟุต พวกมันกินปลา นก สัตวมีพิษและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร แม้ว่าอนาคอนดาจะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่เชื่องในบางครั้งแต่ก็เป็นอันตรายสำหรับคน อนาคอนดาเป็นงูไม่มีพิษ ล่าเหยื่อโดยการรัดให้ตาย

อันดับที่ 11 ปลากระเบนน้ำจืดยักษ์


           เป็นสัตว์ที่หาชมได้ยาก เพราะพวกมันชอบฝังตัวในตะกอนใต้น้ำ ความอันตรายของมันคือ มีพิษร้ายแรงอยู่ที่หนวดตรงหางซึ่งผู้รับพิษอาจถึงตายได้

อันดับที่ 12 (Vampire Fish)


            ปลาเหล่านี้มีวางขายตาท้องตลาดในเปรู แต่มันก็มีความน่ากลัวไม่น้อย เหยื่อของมันจะเป็นปลาที่เล็กกว่า โดยเฉพาะ ปิรันย่า มันล่าเหยื่อโดยการแทงเขี้ยวยาวและแหลมคม ซึ่งเขี้ยวของมันยาวได้ถึง 6 นิ้ว

อันดับที่ 13 คือ ปลาไม้จิ้มฟัน


            ปลาชนิดนี้ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์น้ำจืดที่น่ากลัวที่สุด พวกมันมีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน นอกจากจะอาศัยอยู่ตามไรเหงือกของปลาแล้ว ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา มีรายงานว่า ปลาไม้จิ้มฟันเหล่านี้ อาศัยอยู่ในท่อปัสสาวะของคนด้วย ซึ่งยากที่จะรักษากระทั่งการผ่าตัดก็ช่วยไม่ได้ แม้ว่าจะใส่เสื้อผ้าอย่างรัดกุมและเลี่ยงการปัสสาวะลงน้ำก็ตาม

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การปฐมพยาบาลผู้ถูกงูกัด




  หากถูกงูกัดควรตีงูให้ตายแล้วเก็บซากไปให้แพทย์ตรวจดูว่าเป็นงูประเภทใด จะได้ใช้เซรุ่มต้านพิษงูฉีดถูกชนิดและให้สังเกตรอยงูกัด ถ้าเป็นรอยงูกัดของงูพิษ จะปรากฏรอยเขี้ยวงูเป็น 2 จุด อาจเป็นรอยลากยาว ขณะกระชากหนี หรืออาจพองเป็นถุงน้ำ ถ้างูไม่มีพิษ รอยฟันบนผิวหนังจะเรียงเป็นแถว

พิษของงู
     มี 3 ประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของงู
     1.พิษต่อระบบประสาท (Neurotoxin) เกิดจากงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยมและงูทับสมิงคลา
     อาการ เริ่มจากแขนไม่มีแรง กระวนกระวาย ลิ้นเกร็ง พูดจาอ้อแอ้ ตามัว น้ำลายฟูมปาก เนื่องจากกล้ามเนื้อการกลืนเป็นอัมพาต หยุดหายใจ และตายในที่สุด
     2. พิษต่อระบบการแข็งตัวของเลือด (Hematotoxin) เกิดจากงูเขียวหางไหม้ งูแมวเซา และงูกะปะ
     อาการ เริ่มจากปวดแผลมาก มีเลือดซึมออกจากแผล เลือดออกจากอวัยวะต่างๆ เช่น เลือดกำเดา เหงือก ไอ อาเจียน ปัสสาวะและอุจจาระเป็นเลือด เกิดจากภาวะระบบไหลเวียนล้มเหลว ตายในที่สุด
     3. พิษต่อกล้ามเนื้อ (Mytotoxin) เกิดจากงูทะเล
     อาการ เริ่มแรก ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมาปัสสาวะสีแดงคล้ำ จากกล้ามเนื้อถูกทำลาย ตามด้วยไตวาย และหายใจล้มเหลว

การปฐมพยาบาล
     1. ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ ไม่ควรใช้เหล้า ยาสีฟัน ขี้เถ้าทาแผล
     2. บีบเลือดออกจากแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรใช้ปากดูดหรือเปิดปากแผลด้วยของมีคม
     3. ไม่ควรรัดเหนือบาดแผลให้แน่นมาก เพราะจะทำให้อวัยวะส่วนปลายขาดเลือดและเน่าตาย ควรแน่นพอสอดนิ้วมือได้ 1 นิ้ว
     4. การรัด ควรรัดเหนือและใต้บาดแผลประมาณ 3 นิ้วมือ
     5. การห้ามเลือดควรใช้ผ้าสะอาดกดแผลโดยตรง
     6. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด เพราะเคลื่อนไหวมากทำให้พิษของงูเข้าสู่กระแสเลือดเร็วขึ้น
     7. วางอวัยวะส่วนนั้นให้ต่ำหรือระดับเดียวกับหัวใจ
     8. ให้ยาแก้ปวดได้ แต่ห้ามใช้ยาที่มีฤทธิ์แอลกอฮอล์ ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาดองเหล้า

ข้อควรระวัง
     - อาการของพิษงูเกิดได้ตั้งแต่ 15-30 นาที หลังถูกกัด หรือ อาจนานถึง 9 ชม. จึงต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง
     - การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู ส่วนใหญ่ทำมาจากม้า ซึ่งอาจแพ้ได้ จึงควรฉีดต่อเมื่อมีอาการของพิษงูเท่านั้น

การแก้พิษงู ตามความเข้าใจของคนทั่วไป และผลเสียที่เกิดขึ้น

       - ขันเชนาะ ซึ่งเป็นวิธีที่คนมักจะคิดว่าได้ผล เพราะมันหยุดเลือดไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ แต่อย่าลืมว่า พิษงูไม่ได้เดินทางผ่านทางเส้นเลือดเพียงอย่างเดียว มันสามารถเดินทางผ่านเส้นประสาทใต้ผิวหนังได้ และการกักพิษงู ให้อยู่ที่เดียวกันนานๆโดยขันเชนาะไว้นั้น จะยิ่งทำให้ความเข้มข้นของพิษ ทำลายเนื้อเยื่อในบริเวณนั้นๆเร็วขึ้น จนอาจทำให้เสียแขนหรือขาที่ถูกกัดไปเลย หนำซ้ำการใช้สายรัดห้ามเลือด ที่ไม่ถูกวิธี ยิ่งจะทำให้เนื้อเยื่อที่ถูกกดไว้เสียหาย กลายเป็นเนื้อตาย บวกกับพิษงูแล้ว ยิ่งทำให้ทุกอย่างเลวร้ายลง ทางที่ดีควรขยับคนไข้ให้น้อยที่สุด และปลอบให้เขาผ่อนคลายลง หรือนอนนิ่งๆ ดีกว่าการขันเชนาะ หรือกักพิษไว้บริเวณใดบริเวณหนึ่งจะดีกว่าครับ และรีบนำส่งโรงพยาบาล โดยไม่ต้องรีรอ
การพยายามหาว่างูชนิดไหน ที่มากัดจนมากเกินไป จะทำให้เสียเวลา แน่นอนว่าถ้าเราเห็นงู และสามารถบอกแพทย์ได้ว่างูชนิดไหนกัด จะช่วยให้ง่ายต่อการรักษา แต่อย่าลืมว่าสิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ การนำผู้ถูกกัดส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งเวลาผ่านไปมาก คนไข้ย่อมมีโอกาสพิการ หรือ เสียชีวิตมากขึ้น และคุณอาจกลายเป็นคนไข้เสียเอง ถ้าถูกงูกัดเข้าอีกคน
อย่าพยายามกรีดหรือเปิดบาดแผล ให้พิษงูระบายออกตามเลือดที่ไหล หรือไปบีบเค้น หรือดูดพิษจากบาดแผลด้วยปาก เรื่องนี้คงเห็นกันในละคร ที่พระเอกพยายามช่วยนางเอก หรือนางเอกพยายามช่วยพระเอกด้วยวิธีนี้ ซึ่งการทดลองทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์แล้วว่ามันไม่ได้ผล และทำให้เนื้อเยื่อเสียหายมากขึ้น จากการซ้ำเติมบาดแผลด้วยการบีบ กรีด เค้นเลือดออกมา และทำให้เกิดการติดเชื้อจากการใช้ปาก หรืออุปกรณ์ดูดพิษงูชนิดต่างๆ ที่ถามหากันมาก ซึ่งไม่มีข้อพิสูจน์ทางการแพทย์ว่ามันช่วยลดพิษงูจากบาดแผลได้จริง และเช่นที่ผมบอกไปแล้วครับ อย่าเสียเวลาทำสิ่งที่ไม่ได้ผล รีบพาผู้ถูกกัดส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดดีกว่า

      - การใช้น้ำแข็งประคบเพื่อหยุดพิษงู เรื่องนี้ก็เช่นกันครับ ไม่ได้ช่วยอะไร กลับทำให้เนื้อเยื่อตายจากความเย็นจัด หรืออาการน้ำแข็งกัด (Frost bite) และอย่าลืมว่า เส้นเลือดจะหดจากความเย็นก็จริง แต่น้ำแข็งไม่ใช่เซรุ่มครับ ไม่ส่งผลอะไรต่อพิษงูเลย
การใช้ไฟฟ้าช็อตที่แผล ข้อนี้ยิ่งแล้วใหญ่ครับ เชื่อว่าจะทำให้ “พิษตาย” วิธีนี้ทำให้คนไข้ยิ่งทรมาน และยิ่งทำให้ชีพจรเต้นแรง เป็นการเร่งให้พิษเดินเร็วขึ้นไปอีก และพิษงูเป็นสารเคมี ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต มันจึงไม่ตายจากการช็อตด้วยไฟฟ้าอย่างแน่นอน ไม่ได้ผลอย่างสิ้นเชิงครับ
ผมมีกรณีศึกษา สาเหตุหลักของการถูกงูกัดในสหรัฐอเมริกามาเป็นตัวอย่างครับ จากสถิติผู้ที่ถูกงูกัดในสหรัฐอเมริกา พบว่ากว่า 80% เป็นเพศชาย ในจำนวนนั้น 40% ถูกงูกัดในขณะดื่มเหล้ามึนเมา และ 60% ของบริเวณที่ถูกกัดทั้งหมด จะเป็นที่มือครับ แปลง่ายๆได้ว่า คนเมาเหล่านี้ เห็นงูแล้วพยายามจะไปจับ จะด้วยตั้งใจหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่ถูกงูกัดเข้าที่มือเป็นส่วนมาก
สถิติที่น่าสนใจอีกข้อคือ ในสหรัฐฯ งูพิษที่กัดคนนั้น ใน 3 ครั้งที่กัด จะมีเพียง 1 ครั้งที่มีการปล่อยพิษออกมา ส่วนอีก 2 ครั้ง พบว่าบาดแผลจะไม่มีพิษงู มีแต่รอยกัดเท่านั้น สาเหตุก็เพราะว่างูพิษนั้น จะใช้พิษของตนในการล่าเหยื่อเพื่อเป็นอาหาร และพิษของงูนั้น เมื่อหมดลงแล้ว กว่าจะสังเคราะห์ขึ้นใหม่ ต้องใช้เวลานาน หมายความว่าหากมันกัดพร่ำเพรื่อ มันจะไม่สามารถหาอาหารได้และอดตาย ดังนั้นงูส่วนใหญ่ที่กัดคน มักกัดเพราะตกใจ ไม่เจตนากัดเพื่อล่าหรือฆ่า จึงไม่ปล่อยพิษเต็มที่ เพราะเป็นการกัดเพื่อป้องกันตัว หรือหากจำเป็นจะปล่อยออกมาไม่มากนัก ซึ่งในภาษาฝรั่งเขาเรียกกันว่า “กัดแห้ง – Dry bite” และหากผู้ถูกกัดไม่มีอาการแพ้พิษงู ก็สามารถรักษาตามอาการได้ทันท่วงที
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่างูกัดแบบไหน คำตอบคือ อย่าไปสนใจครับ จะกัดแบบแห้งหรือไม่แห้ง ก็ให้ปฐมพยาบาลผู้ถูกกัดเหมือนกัน คือนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด อย่าเสียเวลาไปกับการหางู หรือไล่ตีมันให้ตาย หรือพยายามบีบแผลหรือล้างแผลเอง ณ จุดเกิดเหตุ

                 วิธีปฐมพยาบาลที่ควรจะทำหลังถูกงูกัด

1.พยายามให้คนไข้อยู่ในอาการสงบ หายใจลึกๆ เคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด ไม่ให้ชีพจรเต้นเร็ว เพื่อไม่ให้พิษงูกระจายสู่กระแสเลือดได้เร็วขึ้น แล้วให้รีบนำส่งผู้ถูกกัดไปโรงพยาบาลโดยเร็ว
ในขณะที่นำคนไข้ถูกงูกัดส่งโรงพยาบาล
อย่างแรกเลยคือคนช่วยต้องใจเย็น ยิ่งไปตื่นเต้น ยิ่งทำให้คนไข้ตื่นตาม ให้ปลอบและพยายามให้คนไข้ ขยับตัวให้น้อยที่สุด ท่าที่ถูกคือให้นอนราบกับพื้น แล้วเคลื่อนย้ายในท่านอน เพราะทำให้หัวใจทำงานน้อยลง ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ควรทราบว่าสถานพยาบาลนั้นๆ มีเซรุ่มแก้พิษงูหรือไม่ เพราะหากไปผิดที่แล้ว จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย หากท่านอยู่ในพื้นที่ป่าหรือมีงูอยู่มาก ให้บันทึกเบอร์ติดต่อสถานพยาบาลใกล้เคียงเอาไว้ หรือจะสอบถามข้อมูลเบื้องต้น ถึงกรณีการถูกงูในบริเวณนั้นๆไว้เป็นความรู้ก็ยิ่งดี
เมื่อให้ผู้ถูกกัดนอนแล้ว ให้ปลดนาฬิกา แหวน หรือสร้อยที่ใส่อยู่ออกให้หมด เพราะเมื่อบริเวณที่ถูกกัดนั้นบวมแล้ว สร้อยหรือสายนาฬิกาจะรัด และถอดออกยากมาก ซึ่งมันจะทำให้เลือดไหลไม่สะดวก ก่อให้เกิดการคั่งของพิษ ให้ผลเดียวกันกับการรัดแบบขันเชนาะ ซึ่งไม่ดีแน่นอน
หากเป็นไปได้หรือมีอุปกรณ์ ให้ทำเหมือนเข้าเฝือกบริเวณที่ถูกกัด โดยเข้าเฝือกตั้งแต่ข้อพับบนและข้อพับล่างของบาดแผล เพื่อป้องกันการขยับของกล้ามเนื้อ และจับคนไข้ให้นอนบนเปล กระดานรองหลัง หรือนอนราบบนเบาะรถ ก่อนทำการเคลื่อนย้าย  มันจะช่วยให้คนไข้ไม่ขยับตัวมากเกินไป และง่ายต่อการนำส่ง โดยให้คนไข้นอนวางแขนแนบลำตัวนิ่งๆมากที่สุด
แทนที่จะใช้การขันเชนาะ ให้เราชะลอการไหลของพิษ โดยการใช้ผ้าพันแผลแบบยืด พันให้แน่นจนพอตึง เพื่อสร้างแรงกด เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับบาดแผลงูกัด โดยใช้แถบผ้ายาวหรือผ้าพันแผล พันบริเวณเหนือแผล และพันต่อๆกันไปทางหัวใจ ด้วยแรงกดพอเหมาะ ไม่แน่นจนหยุดการไหลของเลือด และไม่หลวมจนไม่เกิดอะไรเลย พันไล่มาจนสุดความยาวผ้า การทำเช่นนี้จะเป็นการชะลอให้เลือดนำพิษเข้าสู่ร่างกายช้าๆ เพื่อการขับออกไปทีละน้อยได้ในภายหลัง หากไม่มีผ้าพันแผลแบบยืด ผ้าที่แนะนำคือผ้ายืดที่ใช้พันข้อของนักกีฬาผ้าพันนี้จะไม่ถูกแกะออกเลย จนกว่าจะถึงมือแพทย์ที่ทำการรักษา
ระหว่างนำส่ง บริเวณบาดแผลจะเริ่มบวมขึ้นๆ อย่าตกใจ เราสามารถบอกความรุนแรงของพิษได้ ตามอัตราการบวมของมัน สังเกตุได้โดยใช้ปากกาหรือเมจิก ทำเครื่องหมายบริเวณที่เกิดการบวมทุกๆ 15 นาที เราจะสามารถบอกความเร็วของพิษ ที่ไหลเข้าสู่ร่างกาย และความแรงของการทำลายของมัน ว่ามากน้อยหรือรุนแรงเพียงใด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการวินิฉัยของแพทย์
ผมหวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ ในการปฐมพยาบาลผู้ถูกงูกัด จริงอยู่ที่วิธีเดิมๆที่เราเรียนรู้ ยังมีอยู่ในความคิดและความเชื่อ แต่อย่าลืมว่า นั้นเป็นวิธีที่สอนต่อๆกันมาหลายสิบปี จนในปัจจุบันได้มีการทดลอง สรรหาอุปกรณ์ และเก็บตัวอย่างสถิติที่ดีกว่า ดังนั้นเราควรเข้าใจวิธีการ และขั้นตอนในการรักษายุคใหม่
สิ่งที่ง่ายที่สุดแต่สำคัญที่สุด ก็คือการป้องกันไม่ให้งูกัด โดยสวมรองเท้าหุ้มข้อสูง แทนการใส่รองเท้าแตะ หากคุณต้องเดินป่า หรือไปในที่รกๆ และใช้ไม้หรือมีดยาวๆแกว่งไปตามพงหญ้า ในระหว่างเดิน เพื่อไล่งูไปจากทางเดินนั้น และอย่าล้วงหรือขวานหาสิ่งของด้วยมือเปล่า ในที่รกที่มองไม่เห็น เช่น รู หรือใต้ขอนไม้ 

งูมีพิษของประเทศไทย

              ปัจจุบันพิษของงูที่นำมาผลิตเซรุ่มมี 6 ชนิดด้วยกันคือ งูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยม งูแมวเซา งูกะปะ และงูเขียงหางไหม้ พิษของงูต่างๆ เหล่านี้ได้นำมาผ่านกรรมวิธีการทำเซรุ่ม เพื่อรักษาผู้ที่ถูกงูกัด พิษงูแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน การรักษาจึงต้องตรงกับประเภทของงูที่กัด เซรุ่มแก้พิษงูจึงแยกออกเป็นประเภทของงูต่างๆ แต่ละชนิดออกไป

1. งูเห่า (Naja kaouthia)


           เป็นงูที่มีพิษมาก รุนแรงถึงชีวิต มีความยาวประมาณตั้งแต่ 1 - 2.24 เมตร และมีอยู่ชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย เมื่อตกใจจะเผ่นหนี และพ่นลมออกมาดังฟู่ฟู่ คล้ายเสียงขู่จึงเรียกว่า งูเห่า กินหนู กบ เขียด นก ลูกเป็ด ลูกไก่ เป็นอาหาร

2. งูสามเหลี่ยม (Bungarus fasciatus)
           


           เป็นงูที่มีอำนาจพิษรุนแรงเป็นอันตรายถึงชีวิต ขนาดความยาวของลำตัวอยู่ช่วง 1-1.8 เมตร มัแนวกระดูกสันหลังยกเป็นสันสูงคล้ายสามเหลี่ยม สีลำตัวเป็นปล้องดำสลับเหลืองปลายหางกุด ปราดเปรียวในเวลากลางคืนเมื่อออกหากิน กินงูขนาดเล็ก กบ เขียด เป็นอาหาร

4. งูจงอาง (Ophiophagus hannah)



            เป็นงูที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ที่เคยพบยาวเกือบ 6 เมตร ลักษณะคล้ายงูเห่า แต่โตกว่ามาก เป็นงูพิษที่มีนิสัยค่อนข้างดุ สามารถแผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า งูจงอางเป็นงูที่กินงูด้วยกัน และสัตว์จำพวกตะกวด กิ้งก่า ตุ๊กแก เป็นอาหาร

5. งูกะปะ (Calloselasma rhodostoma)




            เป็นงูพิษขนาดเล็ก ความยาวลำตัวสูงสุดประมาณ 84 เซนติเมตร หัวเป็นรูปสานเหลี่ยมคอคอดเล็ก ตัวสีน้ำตาลแดง ลายรูปสามเหลี่ยมเปียกปูนสีน้ำตาลเข้มปนดำ เวลาถูกรบกวนจะแผ่ลำตัวแบนราบกับพื้น ฉกกัดได้รวดเร็ว กินหนู กินกบ เขียด เป็นอาหาร

6. งูแมวเซา (Daboia ruamensis)



            เป็นงูที่มีอำนาจพิษรุนแรง กัดแล้วทำให้มีเลือดออกในอวัยวะภายใน ต่างๆ  ลักษณะตัวอ้วนสั้น ลำตัวประมาณ 0.9-1.5 เมตร หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม ลำตัวพื้นสีน้ำตาลอ่อน และมีวงสีน้ำตาลเข้ม เมื่อถูกรบกวนจะพ่นลมออกมาทางจมูก งูชนิดนี้ฉกได้ว่องไวมาก กินหนูและนกเป็นอาหาร

7. งูเขียวหางไหม้ (Trameresurus)



         เป็นงูที่มีพิษ ลำตัวสีเขียวและหางแดง ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ชอบอาศัยและหากินอยู่บนต้นไม้ ชอบเลื้อยปีนป่ายตามต้นไม้ กิ่งไม้ หางซึ่งพัฒนาเป็นพิเศษ ใช้เกาะยึดและเหนี่ยวตัวได้อย่างเหนียวแน่น กินหนู กบ เขียด ลูกนกเป็นอาหาร